@article{การะเกตุ_ชัยเจริญวัฒนะ_2023, place={Bangkok, Thailand}, title={การจัดการความขัดแย้งที่เกิดจากโครงการพัฒนาของรัฐ: กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา}, volume={4}, url={https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/436}, abstractNote={<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ความขัดแย้ง พัฒนาการความขัดแย้ง และข้อขัดแย้งจากการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลในพื้นที่ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร <br>จังหวัดสงขลา 2) วิเคราะห์สาเหตุความขัดแย้งจากการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลในพื้นที่ศึกษา 3) เสนอแนะแนวทางการการจัดการความขัดแย้งการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลในพื้นที่ศึกษา ในการศึกษานี้ได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง มีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลโดยเลือกจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาคือ ตัวแทนของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง มีผู้ให้ข้อมูลรวม 17 คน แบ่งเป็น หน่วยงานระดับภูมิภาค จำนวน 2 คน หน่วยงานระดับท้องถิ่น จำนวน 6 คน ฝ่ายสนับสนุนโครงการฯ จำนวน 2 คน และฝ่ายคัดค้านโครงการฯ จำนวน 7 คน ร่วมกับการศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ หาข้อสรุป และข้อเสนอแนะ</p> <p>         ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์และพัฒนาการความขัดแย้งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ ความขัดแย้งแฝง ความขัดแยงที่กำลังเกิด และความขัดแย้งที่ปรากฏออกมา โดยข้อขัดแย้งที่มีต่อสถานการณ์คือ ภาครัฐต้องการเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลเพื่อป้องกันสถานที่ราชการ แนวถนนเลียบชายหาดและบ้านเรือนของประชาชนจากการกัดเซาะของคลื่นทะเล แต่ประชาชนในพื้นที่โครงการฯ มีความกังวลต่อผลกระทบที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต สังคมและวัฒนธรรมของชุมชน สาเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งมี 4 สาเหตุ ได้แก่ ความขัดแย้งด้านข้อมูล ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ความขัดแย้งด้านโครงสร้าง และความขัดแย้งด้านค่านิยม โดยการจัดการความขัดแย้งของภาครัฐและภาคประชาชนมีด้วยกัน 6 แนวทาง ได้แก่ <br>1) การเจรจาไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง 2) การเจรจา 3) การรวมกลุ่มของภาคประชาชน 4) การคัดค้านโครงการด้วยแนวทางสันติและสร้างสรรค์ 5) ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง และ 6) ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสภาผู้แทนราษฎร และข้อเสนอแนวทางการจัดการความขัดแย้งฯ ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1) การจัดตั้งคณะทำงาน 2) การแก้ไขระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องและปรับแนวคิดในการแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพ 3) การรับฟังความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ และ 4) การให้อำนาจชุมชนในพื้นที่ในการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นของตนเอง</p>}, number={8}, journal={PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย)}, author={การะเกตุ ศุภฤกษ์ and ชัยเจริญวัฒนะ บุษบง}, year={2023}, month={มี.ค.}, pages={46–57} }