@article{คะมะคต_2023, place={Bangkok, Thailand}, title={การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานสู่การเมืองระดับชาติ: กรณีศึกษา การเคลื่อนไหวของปีกแรงงานภายใต้พรรคอนาคตใหม่ ช่วงปี พ.ศ. 2561 – 2563}, volume={4}, url={https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/259}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มุ่งวิเคราะห์และศึกษา บทบาท อุดมการณ์แนวคิด โครงสร้างเครือ ข่าย กลไก และวิธีการที่ใช้ในการยกระดับการเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานสู่การเมืองระดับชาติภายใต้พรรคอนาคตใหม่ในแต่ละช่วงเวลา ตั้งแต่ช่วงการเกิดรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และช่วงเวลา เปลี่ยนผ่านสู่การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 จนกระทั่งถึงช่วงสิ้นสุดอย่างเป็นทางการ การประกาศยุบพรรคอนาคตใหม่ในปี พ.ศ. 2563 จุดกระแสเกิดการเคลื่อนไหวทางสังคมโดยกลุ่มนักศึกษาพร้อมทั้งประชาชนภาคส่วนต่าง ๆ งานวิจัยชิ้นนี้ใช้วิธีศึกษารูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือวิจัยเชิงเอกสาร และเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกของขบวนการแรงงานที่รวมกลุ่มอย่างเป็นทางการภายใต้พรรคการเมือง ขอบเขตการศึกษา ครอบคลุมทุกกลุ่มในขบวนการนี้ ทั้ง (1) แกนนําหลักของปีกแรงงาน (2) ผู้นําสหภาพแรงงานที่เข้าร่วมขบวนการ (3) ทีมข้อมูลและนโยบายปีกแรงงาน และ (4) ผู้แทนราษฎรสัดส่วนปีกแรงงาน โดยเลือกตัวอย่างข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามประเด็นศึกษา และใช้เทคนิคการสุ่มแบบลูกโซ่<br>ผลการศึกษาพบว่า การเคลื่อนไหวเพื่อยกระดับเปลี่ยนการรับรู้ประเด็น รัฐสวัสดิการ กับแรงงาน และการเมืองประชาธิปไตยของปีกแรงงานพรรคอนาคตใหม่ ยังคงไม่สามารถเข้าถึงเพื่อเปลี่ยนการรับรู้แก่แรงงาน ทั่วไปที่อยู่นอกเครือข่ายได้อย่างครอบคลุมตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แม้จะมีผลตอบกลับบ้างเล็กน้อยในระดับปัจเจก บุคคลก็ตาม เนื่องด้วยเงื่อนไขและปัจจัยสําคัญที่เกิดจาก (1) ความเป็นประชาธิปไตยในประเทศ และแนวคิดสังคม นิยมประชาธิปไตยของพรรค ความเป็นประชาธิปไตยที่ส่งผลสะเทือนต่อรัฐสภาและการยุบพรรคอนาคตใหม่ที่มีอายุเพียงปีเศษ ตลอดจนช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงภายหลังจากการถูกยุบพรรค ที่ทําให้งานพื้นที่และมวลชนต้องหยุดชะงัก เหลือไว้แค่เพียงการทํางานด้านความคิดทางนโยบายแรงงานและรัฐสวัสดิการผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย รวมถึงแนวคิดของพรรคอนาคตใหม่ที่ช่วงหลังมีความเป็นเสรีนิยมเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการผลักดัน นโยบายและร่างกฎหมายของกลุ่มปีกแรงงานผ่านกระบวนการของพรรคเป็นอย่างยิ่ง (2) โครงสร้างแท้จริงของ ขบวนการที่ยังไม่สามารถดําเนินการได้เต็มรูปแบบ ตลอดจนปัญหาการเชื่อมประสานเพื่อเพิ่มแนวร่วมขยายพื้นที่ ให้กับแรงงานนอกระบบอุตสาหกรรมแบบดั่งเดิมเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองระดับชาติร่วมกับขบวนการได้ (3) วิธีการเคลื่อนไหวผลักดันภายใต้กระบวนการฝั่งนิติบัญญัติของขบวนการไม่เป็นไปในทศิทางเดียวกันตามเป้าหมาย และกรอบที่วางไว้ ส่งผลให้เกิดร่องรอยความขัดแย้งในเรื่องยุทธวิธีออกเป็น 2 ฝั่งอย่างหลวม ๆ รวมถึงกลไกการ ขับเคลื่อนร่างกฎหมายของขบวนการผ่านพรรคที่ไม่สอดรับซึ่งกันและกัน ตลอดจนมีกระบวนการพิจารณาและ แก้ไขร่างกฎหมายที่ล่าช้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากการถูกต่อต้านโดยกลุ่มทุนภายในพรรค (4) ทรัพยากรสนับสนุน จากพรรคที่มีเงื่อนไขและจํากัด ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการสื่อสารผ่านสื่อโซเชียลหลักของพรรค ชุดข้อมูลสนับสนุน นโยบายของขบวนการจากพรรค เป็นต้น ในภายหลัง ประเด็นเฉพาะหน้าด้านแรงงานมีความหลากหลายผ่านเข้า การประชุมรัฐสภาและประชุมกรรมาธิการแรงงานมากขึ้นจากกลุ่มอิสระและเครือข่ายนอกขบวนการ รวมถึงการ ขยายเครือข่ายพันธมิตรจากการทํางานด้นความคิดกับองค์กรภายนอกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เงื่อนไขดังกล่าวยัง ส่งผลต่อเป้าหมาย และรูปแบบการระดมทรัพยากรในปัจจุบัน ที่ขบวนการหันมาเน้นด้านทรัพยากรบุคคล ผ่านการขยายเครือข่ายอย่างมีกลไกและซับซ้อนมากขึ้น โดยเน้นการทํางานกับมวลชนผ่านการจัดตั้งอย่างเป็น กระบวนการ เพื่อวางฐานรากของขบวนการให้มั่นคง ขยายการสื่อสารรับรู้แก่สังคม กระจายอํานาจและทรัพยากร ภายใต้โครงสร้างสังคมการเมืองให้แก่กลุ่มผู้ใช้แรงงานอื่น ๆ ผ่านทางเครอืข่ายในขบวนการ</p>}, number={7}, journal={PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย)}, author={คะมะคต สินีนาฎ}, year={2023}, month={ม.ค.}, pages={38–59} }