วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jimc <p><strong>วัตถุประสงค์ :<br />วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร</strong> (Journal of Innovative Media &amp; Communication: JIMC) เป็นวารสารวิชาการที่จัดทำโดยคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต และนักศึกษาที่ศึกษาด้านนิเทศศาสตร์และเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และสาขาที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>ขอบเขตเนื้อหา :<br /></strong>วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสารรับพิจารณาบทความวิจัย (Research article) และบทความวิชาการ (Academic article) ทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษแบบเต็มรูปแบบ (Full paper) ขอบเขตบทความที่รับพิจารณา ได้แก่ การพัฒนานวัตกรรมสื่อ การสื่อสารมวลชน สื่อใหม่ สื่อดิจิทัลและมัลติมีเดีย การสื่อสารการตลาด การสื่อสารสุขภาพ การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ การถ่ายภาพและภาพยนตร์ การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ เทคโนโลยีโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง เทคโนโลยีทางด้านสื่อและการผลิตสื่อประเภทต่าง ๆ ตลอดจนสาขาวิชาอื่น ๆ ตามการพิจารณาของกองบรรณาธิการ</p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่ :<br /></strong>วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสารตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ<br />ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน <br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม<br />ISSN 2822-0501 (Print)<br />ISSN 2822-0498 (Online)</p> คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี th-TH วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร 2822-0501 ข้อมูลส่วนต้น https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jimc/article/view/993 รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวิภา สินสุวรรณ Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2023-12-27 2023-12-27 2 2 รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jimc/article/view/994 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย ขันแก้ว Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2023-12-27 2023-12-27 2 2 85 94 กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของขบวนการนักเรียนนักศึกษาในภาวะวิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2563 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jimc/article/view/841 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาสาร รูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ และกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของขบวนการนักเรียนนักศึกษาในภาวะวิกฤตการเมืองไทยพ.ศ. 2563 โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพจากการเก็บข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ 2 ช่องทาง คือ เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลคนสาคัญจานวน 3 คน ผู้ที่เป็นตัวแทนของขบวนการนักเรียนนักศึกษา 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนเลวและกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ผลการวิจัย พบว่า 1. การนาเสนอเนื้อหาสารในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือ (1) ใช้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสารจากตัวบุคคลที่เป็นแกนนาของกลุ่ม (2) นาเสนอสารอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา สอดคล้องกับเวลาและบริบทที่เป็นกระแสหรือสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงนั้น โดยมีกลวิธีการใช้ภาษาแบบเสียดสี (3) นาเสนอเนื้อหาและลงท้ายด้วยแฮชแท็ก ซึ่งกาหนดโดยขบวนการนักเรียนนักศึกษา เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางในการส่งสารต่อไปยังผู้รับสารบนสื่อสังคมออนไลน์ 2. รูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของขบวนการนักเรียนนักศึกษามีลักษณะเป็นเอกภาพ โดยออกแบบสื่อให้สอดคล้องกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายของขบวนการนักเรียนนักศึกษา และ 3. กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของขบวนการนักเรียนนักศึกษา คือ กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุก ซึ่งประกอบด้วยกลยุทธ์เชิงปฏิบัติการที่เป็นการจัดเหตุการณ์พิเศษและการร่วมมือกับพันธมิตร และกลยุทธ์การสื่อสารที่เน้นการเผยแพร่ข่าวสาร คุณค่าของข่าวสาร และการสื่อสารที่ชัดเจนเปิดเผย นอกจากนี้ ยังใช้กลยุทธ์การเลือกใช้สื่อ ซึ่งประกอบด้วยสื่อบุคคลและสื่อมวลชน เพื่อให้การสื่อสารประสบผลสาเร็จมากขึ้น โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์เป็นหลัก</p> พลอย ศรีสุโร ทินวุฒิ ลิวานัค สิรินญา พิชัยรัตน์ Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2023-12-27 2023-12-27 2 2 1 20 10.60101/jimc2023.841 การเปิดรับสื่อและทัศนคติของกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานที่มีต่อสื่อโฆษณาออนไลน์ ของแบรนด์ Cute Press https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jimc/article/view/846 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อสารวจการเปิดรับสื่อของกลุ่มวัยรุ่นและวัยทางานที่มีต่อสื่อโฆษณาออนไลน์ของแบรนด์ Cute Press และเพื่อสารวจความคิดเห็นของกลุ่มวัยรุ่นและวัยทางานที่มีต่อสื่อโฆษณาออนไลน์ของแบรนด์ Cute Press กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่นและวัยทางาน เพศหญิง อายุ 18 – 59 ปี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จานวน 400 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ซึ่งสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอิงความสะดวก<br />ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะทางประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.0 มีอายุ 21 – 26 ปี ร้อยละ 38.0 มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษาร้อยละ 20.8 มีรายได้ 15,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 30.3 และอาศัยอยู่ในจังหวัดปทุมธานี ร้อยละ 27.3 ด้านการเปิดรับสื่อ พบว่า ส่วนใหญ่เคยใช้สินค้าแบรนด์ Cute Press ร้อยละ 84.5 เปิดรับสื่อโฆษณาออนไลน์ของแบรนด์ Cute Press อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 30.3 ใช้โทรศัพท์มือถือในการเปิดรับสื่อโฆษณา ร้อยละ 87.5 โดยเปิดรับผ่านสื่อเฟซบุ๊กมากที่สุด ร้อยละ 50.2 รูปแบบที่เห็นบ่อยที่สุด คือ โฆษณาที่แสดงภาพปกเป็นภาพเดี่ยวหรือวิดีโอเหนือภาพสินค้าภาพเดี่ยวหลายภาพ (Collection Ads) ร้อยละ 49.0 ด้านความคิดเห็น พบว่า ในภาพรวม กลุ่มตัวอย่างรับรู้สื่อโฆษณาออนไลน์ของแบรนด์ Cute Press อยู่ในระดับมาก (<em>M</em> = 4.20, <em>SD</em> = 0.67) รองลงมา ได้แก่ ด้านความน่าสนใจของสื่อโฆษณา อยู่ในระดับมาก (<em>M</em> = 4.15, <em>SD</em> = 0.70) ด้านความต้องการสินค้าอยู่ในระดับมาก (<em>M</em> = 4.15, <em>SD</em> = 0.70) ด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าอยู่ในระดับมาก (<em>M</em> = 4.15, <em>SD</em> = 0.71)</p> กนก จินดา ชนิตา กลิ่นสอน ธัญญ์นรี พิบูลอัมรินทร์ ชิดชนันท์ ตันสมสกุล Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2023-12-27 2023-12-27 2 2 21 34 10.60101/jimc2023.846 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตของผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ตำบลวังพิณพาทย์ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jimc/article/view/834 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนา ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การเข้าถึงบริการสุขภาพ และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ จานวน 152 คน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลวังพิณพาทย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ค่า IOC = 0.67 ค่าความเชื่อมั่น = 0.70 สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ระยะเวลาในการศึกษา คือ มกราคม พ.ศ. 2564 - เมษายน พ.ศ. 2565 ผลการศึกษา พบว่า ความรู้ อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 80.3) ทัศนคติอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 82.9) การรับรู้ประโยชน์ของการควบคุม อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 100.0) การรับรู้อุปสรรคของการควบคุมอยู่ในระดับต่า (ร้อยละ 88.2) การเข้าถึงบริการสุขภาพอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 59.2) การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 68.9) พฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 67.1) และมีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนา ได้แก่ ความรู้ การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคของการควบคุมความดันโลหิต การเข้าถึงบริการสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต (<em>r</em> = 0.190, <em>p</em> = 0.055) ทัศนคติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต (<em>r</em> = 0.061, <em>p</em> = 0.542) การรับรู้ประโยชน์ของการควบคุมความดันโลหิตมีความสัมพันธ์ในระดับต่ากับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต (<em>r</em> = 0.229, <em>p</em> = 0.020) การรับรู้อุปสรรคของการควบคุมความดันโลหิตไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต (<em>r</em> = 0.097, <em>p</em> = 0.331) การเข้าถึงบริการสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต (<em>r</em> = 0.012, <em>p</em> = 0.902) และแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ากับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต (<em>r</em> = 0.260, <em>p</em> = 0.008)</p> ทาริกา กรงทอง พงษ์พิมาย เกิดเกตุ Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2023-12-27 2023-12-27 2 2 35 44 10.60101/jimc2023.834 อัตลักษณ์ภาพยนตร์ไทยไซไฟ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jimc/article/view/844 <p>ท่ามกลางภาพยนตร์ไซไฟจากฮอลลีวูดจานวนมากที่ฉายในประเทศไทย ผู้ดู ชาวไทยได้เสพเรื่องราวที่เต็มไปด้วยจินตนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าพร้อมด้วยงานสร้างที่มีความตื่นตาตื่นใจทั้งภาพและเสียง แต่เมื่อพิจารณาภาพยนตร์ไทย ผู้เขียนตั้งคาถามว่า เรามีการสร้างภาพยนตร์ไทยไซไฟบ้างหรือไม่ แล้วถ้ามีภาพยนตร์ไทยไซไฟจะมีลักษณะอย่างไรบ้าง บทความนี้มิได้บังอาจตัดสินคุณค่าของภาพยนตร์ไทยไซไฟในเชิงสุนทรียะ แต่เป็นการสารวจจานวนภาพยนตร์ไทยไซไฟ ที่มีการผลิตตั้งแต่ช่วงเวลาที่ภาพยนตร์ไทยสร้างในระบบที่มีมาตรฐานและเริ่มได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1969 จนถึงปี ค.ศ. 2022 รวมทั้งพิจารณาลักษณะเฉพาะของภาพยนตร์ไทยไซไฟ เนื่องจากภาพยนตร์เป็นภาพสะท้อนสังคมและความคิดของผู้คน การตรวจสอบภาพยนตร์ไทยไซไฟอย่างน้อยก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งมุมมองที่สะท้อนจินตนาการ และความคิดของคนไทยต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในบทความนี้ผู้เขียนเลือกใช้ปีคริสต์ศักราช (ค.ศ.) แทนปีพุทธศักราช (พ.ศ.) เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาเปรียบเทียบภาพยนตร์ไทยไซไฟกับภาพยนตร์จากต่างประเทศ เพราะภาพยนตร์ไทยนั้นมิได้พัฒนาอย่างโดดเดี่ยว แต่ภาพยนตร์ไทยเติบโตไปพร้อม ๆ กับภาพยนตร์จากต่างประเทศด้วยเช่นกัน</p> ภัสสร สังข์ศรี Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2023-12-27 2023-12-27 2 2 45 66 10.60101/jimc2023.844 ทบทวนหวนคิดเรื่องการสื่อสารโลกาภิวัตน์ในบริบทแห่งภูมิรัฐศาสตร์ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jimc/article/view/830 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แนวคิดการสื่อสารโลกาภิวัตน์ยุคแรกก่อตัวมาราวทศวรรษ 1950 โดยได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) และเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ ทฤษฎีบรรทัดฐานของสื่อ (normative theory of media) ซึ่งในระยะแรกจำแนกบรรทัดฐานของสื่อในโลกเป็น 4 กลุ่มคือ ทฤษฎีอำนาจนิยม ทฤษฎีอิสรภาพนิยม ทฤษฎีสื่อกับความรับผิดทางสังคม และทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยมแบบโซเวียต แต่ต่อมานักทฤษฎีรุ่นหลังได้เติมบรรทัดฐานใหม่เพิ่มอีก 2 ชุด คือ ทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการพัฒนา และทฤษฎีประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของสื่อ แม้ว่าทฤษฎีภูมิรัฐศาสตร์การสื่อสารจะผ่านกาลเวลามาเกินกว่าครึ่งศตวรรษแล้วก็ตาม แต่ทว่า ทฤษฎีดังกล่าวก็ยังคงมีทั้งข้อเด่นและข้อจำกัดในการประยุกต์ใช้เพื่อทำความเข้าใจการสื่อสารในบริบทแห่งโลกาภิวัตน์จนถึงปัจจุบัน</p> Somsuk Hinviman Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2023-12-27 2023-12-27 2 2 67 84 10.60101/jimc2023.830