https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jimc/issue/feed วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร 2024-06-27T18:18:51+07:00 ผศ.ดร.สุรชัย ขันแก้ว jimc_mct@rmutt.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วัตถุประสงค์ :<br />วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร</strong> (Journal of Innovative Media &amp; Communication: JIMC) เป็นวารสารวิชาการที่จัดทำโดยคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต และนักศึกษาที่ศึกษาด้านนิเทศศาสตร์และเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และสาขาที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>ขอบเขตเนื้อหา :<br /></strong>วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสารรับพิจารณาบทความวิจัย (Research article) และบทความวิชาการ (Academic article) ทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษแบบเต็มรูปแบบ (Full paper) ขอบเขตบทความที่รับพิจารณา ได้แก่ การพัฒนานวัตกรรมสื่อ การสื่อสารมวลชน สื่อใหม่ สื่อดิจิทัลและมัลติมีเดีย การสื่อสารการตลาด การสื่อสารสุขภาพ การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ การถ่ายภาพและภาพยนตร์ การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ เทคโนโลยีโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง เทคโนโลยีทางด้านสื่อและการผลิตสื่อประเภทต่าง ๆ ตลอดจนสาขาวิชาอื่น ๆ ตามการพิจารณาของกองบรรณาธิการ</p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่ :<br /></strong>วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสารตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ<br />ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน <br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม<br />ISSN 2822-0501 (Print)<br />ISSN 2822-0498 (Online)</p> https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jimc/article/view/1333 บทบรรณาธิการ 2024-06-27T17:47:11+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวิภา สินสุวรรณ natwipa_s@rmutt.ac.th 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jimc/article/view/1334 รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ 2024-06-27T17:48:56+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย ขันแก้ว surachai@rmutt.ac.th 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jimc/article/view/1213 การรับรู้การสื่อสารการตลาดและการตัดสินใจซื้อ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ศูนย์เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคไทย 2024-04-30T17:39:39+07:00 สุวณี จั่นเพิ้ง suwanee.tj@gmail.com สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง sp@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การสื่อสารการตลาดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ศูนย์เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคไทย และศึกษาการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ศูนย์เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ กลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุ ตั้งแต่ 20 ขึ้นไป ที่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ศูนย์เปอร์เซ็นต์ ยี่ห้อใดก็ได้ อย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 240 คน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี รายได้ 15,001 – 30,000 บาท ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้การสื่อสารการตลาดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ศูนย์เปอร์เซ็นต์โดยรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.43) และเมื่อพิจารณาตามรายด้านพบว่า ลำดับที่ 1 คือการรับรู้ผ่านการประชาสัมพันธ์ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.68) ลำดับที่ 2 รับบรู้ผ่านการโฆษณา อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.59) ลำดับที่ 3 รับรู้ผ่านการส่งเสริมการขาย อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.43) ลำดับที่ 4 ผ่านการขายโดยบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.34) และลำดับที่ 5 ผ่านการตลาดทางตรง อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.10) ส่วนการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ศูนย์เปอร์เซ็นต์ค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.39) และเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ลำดับที่ 1 คือการตระหนักรู้ถึงปัญหา อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.59) ลำดับที่ 2 คือการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.38) ลำดับที่ 3 การตัดสินใจซื้อสินค้า อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.38) ลำดับที่ 4 การประเมินหลังการซื้อสินค้า อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.32) และลำดับที่ 5 ขั้นตอนประเมินทางเลือกอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.29)</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jimc/article/view/1218 การผลิตสื่อวีดิทัศน์ 360 องศาเพื่อส่งเสริมประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงศาสนาของผู้สูงอายุ 2024-05-03T13:42:46+07:00 ตปากร พุธเกส tapakonp@gmail.com วทัญญู นิลบรรจง tapakon_p@rmutt.ac.th อิสญาพันธ์ มาธุพันธ์ tapakon_p@rmutt.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการผลิตสื่อวีดิทัศน์ 360 องศา เพื่อส่งเสริมส่งเสริมประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงศาสนาของผู้สูงอายุ(2) ศึกษาทัศนคติที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของผู้สูงอายุผ่านสื่อวีดิทัศน์ 360 องศา และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ 360 องศาเพื่อส่งเสริมประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงศาสนาของผู้สูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีปัญหาการเคลื่อนไหว จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการสื่อสำหรับผู้สูงอายุ แบบสอบถามทัศนคติที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงศาสนาผ่านสื่อวีดิทัศน์ 360 องศา และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า (1) กระบวนการผลิตสื่อวีดิทัศน์ 360 องศา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนสำคัญ คือ ขั้นตอนก่อนการผลิต (Pre-Production) ขั้นตอนการผลิต (Production) ขั้นตอนหลังการผลิต <br>(Post-Production) และการนำไปเผยแพร่ (Presentation) ซึ่งเป็นขั้นตอนมาตรฐานที่เหมือนกับการผลิตสื่อวีดิทัศน์ในรูปแบบปกติ (2) ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงศาสนาผ่านสื่อวีดิทัศน์ 360 องศkอยู่ในระดับมาก (<em>M</em> = 4.05, <em>SD</em> = 0.13) &nbsp;(3) ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ 360 องศาส่งเสริมประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงศาสนาของผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<em>M</em> = 4.32, <em>SD</em> = 0.49)</p> <p>&nbsp;</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jimc/article/view/1227 การศึกษามุมกล้องในการถ่ายภาพที่มีผลต่อความดึงดูดใจในการผลิตภาพถ่ายโฆษณาก๋วยเตี๋ยวเรือ 2024-05-07T12:22:14+07:00 ชนิดา ศักดิ์สิริโกศล dadahz69@gmail.com นันทกานต์ มหาพจน์ chanida_s@rmutt.ac.th นันทณัฏฐ์ หงส์ลอยลม chanida_s@rmutt.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของมุมกล้องที่มีผลต่อความดึงดูดใจในการผลิตภาพถ่ายโฆษณาก๋วยเตี๋ยวเรือ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการทดลองถ่ายภาพตามมุมกล้อง 7 มุมกล้อง ได้แก่ 0 องศา 15 องศา 30 องศา 45 องศา 60 องศา 75 องศา และ 90 องศา ถ่ายภาพในสตูดิโอด้วยกล้อง DSLR ยี่ห้อ Canon รุ่น 80D เลนส์ Canon EF-S 18-135 USM โดยควบคุมตัวแปร ได้แก่ การตกแต่งชามก๋วยเตี๋ยว คุณภาพแสง ทิศทางแสง ตำแหน่งไฟ ขนาดภาพ ค่าความไวแสง ทางยาวโฟกัสของเลนส์ 35 มม. และขนาดรูรับแสง F/8 เท่ากันทุกภาพ จากนั้นให้กลุ่มตัวอย่าง 30 คน ประเมินความเหมาะสมของมุมกล้องดูภาพผ่านจอมอนิเตอร์ โดยวิธีการประเมินแบบจับคู่เปรียบเทียบในห้องทดลองที่ได้รับการควบคุมความสว่าง 870 ลักซ์&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า มุมกล้อง3 อันดับแรกที่ได้ผลการประเมินความเหมาะสมมากที่สุดในการผลิตภาพถ่ายโฆษณาก๋วยเตี๋ยวเรือ คือมุมกล้อง 60 องศา รองลงมา ได้แก่ มุมกล้อง 45 องศา และมุมกล้อง 90 องศาตามลำดับ</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jimc/article/view/1229 ผลของสื่อวีดิทัศน์การเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสานเชิงบูรณาการ ต่อการเผยแพร่ความรู้ : กรณีศึกษาสถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2024-05-08T16:58:40+07:00 วิทวัส ยุทธโกศา witthawat.y@ku.th ไพฑูรย์ ศรีฟ้า witthawat.y@ku.th <p>งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาสื่อวีดิทัศน์เรื่องการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสานเชิงบูรณาการเพื่อการเผยแพร่ความรู้ และเพื่อเปรียบเทียบผลและความพึงพอใจของ<br>ผู้ที่สนใจงานวิจัยด้านการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสานเชิงบูรณาการ กรณีศึกษาสถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลสื่อและการเผยแพร่ของสถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และพัฒนาสื่อฯ จากนั้นประเมินคุณภาพสื่อฯ ปรับปรุง และทดสอบด้วยเครื่องมือแบบประเมินและแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 107 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อวีดิทัศน์เรื่องการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสานเชิงบูรณาการเพื่อการเผยแพร่ความรู้ สถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายมีระดับคุณภาพด้านการรับรู้เนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (&nbsp;= 4.50) ด้านเทคนิคการผลิตในระดับดีมาก (&nbsp;= 4.57) และด้านภาพรวมในระดับดีมาก (&nbsp;= 4.50), 2) ผลคะแนนความรูความเขาใจการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสานเชิงบูรณาการของผู้รับชมสื่อมีผลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 63.12 โดยโดยคาเฉลี่ยของคะแนนก่อนรับชมสื่อและหลังการรับชมสื่อฯ มีค่าเป็น &nbsp;= 10.09 และ 17.78 ตามลำดับ และ 3) กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจที่มีต่อสื่อฯ ในด้านเทคนิคการผลิตสื่อระดับพึงพอใจมาก (&nbsp;= 4.23) และสื่อมีประโยชน์ต่อการศึกษา ในระดับพึงพอใจมาก (&nbsp;= 4.42) ผลการวิจัยครั้งนี้ จึงสามารถส่งเสริมการเผยแพร่และให้ความรู้ผลงานวิจัยของสถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jimc/article/view/1211 การรับรู้ความหมายและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ที่มีส่วนผสมของเรตินอลของผู้หญิงไทย 2024-04-30T17:41:55+07:00 ณฐมน ภัทรหิรัญโชค n.pattarahirunchok@gmail.com สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง n.pattarahirunchok@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความหมายและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่มีส่วนผสมของเรตินอลของผู้หญิงไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและสำรวจโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 240 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br />ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 240 คน เป็นเพศหญิงที่อายุอยู่ในช่วง 25-29 ปี มากที่สุด มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีระดับรายได้ 15,000-25,000 บาท เกือบครึ่งหนึ่งมีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้านการศึกษาการรับรู้ความหมายทั้ง 3 ด้านที่มีการรับรู้มากที่สุด คือ 1. ด้านความหมายของเรตินอล คือ เรตินอลคือสารสกัดที่เกิดมาจากวิตามินเอ 2. ด้านวิธีการใช้เรตินอล คือ การใช้เรตินอลควรใช้คู่กับมอยเจอร์ไรเซอร์ และ 3. คุณลักษณะ/ประสิทธิภาพของเรตินอล คือ ผิวของแต่ละคนมีปฏิกิริยาต่อเรตินอลต่างกัน ผลการศึกษาด้านการตัดสินใจซื้อ พบว่า 1. ขั้นตระหนักถึงปัญหา คือ องการหาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเพื่อช่วยลดเรือนริ้วรอยบนใบหน้ามากที่สุด และ 2.ขั้นระดับการค้นหาและเปรียบเทียบข้อมูล คือ มักเปรียบเทียบราคาของสินค้ามาก 3. ขั้นระดับการตัดสินใจ คือ ซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเรตินอลเพราะตรงกับความต้องการมากที่สุด และ 4. ขั้นพฤติกรรมหลังการซื้อ คือ ถ้าสินค้าใช้แล้วเห็นผลตามคำโฆษณามักจะต้องการบอกต่อ</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี