วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jasrru <p>วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ<br />Journal of Academic Surindra Rajabhat<br />ISSN 2822-0870 (Print)<br />ISSN 2822-0889 (Online)</p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่ปีละ 6 ฉบับ คือ</strong> <br />- ฉบับที่ 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์) <br />- ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน) <br />- ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน) <br />- ฉบับที่ 4 (กรกฎาคม-สิงหาคม) <br />- ฉบับที่ 5 (กันยายน-ตุลาคม) <br />- ฉบับที่ 6 (พฤศจิกายน–ธันวาคม)</p> <p><strong>ขอบเขตของวารสาร ดังนี้ ผลงานทางวิชาการทาง<br /></strong>- สหวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์<br />- การศึกษา<br />- การบริหารจัดการ<br />- การบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน<br />- บทวิเคราะห์ที่เสนอทางออกของปัญหาให้แก่ท้องถิ่น สังคม ประเทศ</p> <p><strong>ประเภทของบทความ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท</strong> ได้แก่ บทความวิจัย และบทความวิชาการ</p> <p>รับตีพิมพ์บทความ ทั้ง บทความภาษาไทย และบทความภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>เงื่อนไขการตีพิมพ์บทความ<br /></strong>บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer Reviewer) จากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยสามท่าน โดยบทความผู้นิพนธ์ภายนอกได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกคนละหนึ่งท่าน หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อยสองท่าน ส่วนบทความผู้นิพนธ์ภายในได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบัน และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร ทั้งนี้ บทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ หากมีการใช้ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อกองบรรณาธิการก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ สำหรับทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความในวารสารฉบับนี้ เป็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ</p> <p>ทั้งนี้ วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</p> ฝ่ายยุทธศาสตร์การยกรดับคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ th-TH วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ 2822-0870 ผลลัพธ์การสอนเศรษฐศาสตร์ที่บูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมทักษะดิจิทัลแห่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jasrru/article/view/1302 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการสอนเศรษฐศาสตร์ที่บูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมทักษะดิจิทัลแห่งอนาคตของนักเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อศึกษาผลลัพธ์การสอนเศรษศาสตร์ด้วยการประเมินทักษะดิจิทัลแห่งอนาคตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 2) แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการทางสังคมศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสมผสาน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยมากกว่า 0.5 สามารถนำไปใช้ได้ 2) ผลการประเมินทักษะอนาคตหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ( =2.66, <em>SD</em>=0.48) และผลการส่งเสริมทักษะอนาคตหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ในภาพรวมอยู่อยู่ในระดับดี ( =2.73, <em>SD</em>=0.42) จึงสรุปได้ว่าแผนการสอนเศรษฐศาสตร์ที่บูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบสามารถส่งเสริมทักษะดิจิทัลแห่งอนาคตของผู้เรียนได้</p> วชิรญาณ์ วรรณศรี ชรินทร์ มั่งคั่ง วรินทร สิริพงษ์ณภัทร Copyright (c) 2024 วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 2 6 1 14 ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารทะเลสดของผู้บริโภคร้านกุ้งราชินี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jasrru/article/view/977 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารทะเลสดของผู้บริโภคร้านกุ้งราชินี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 2) ศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารทะเลสดของผู้บริโภคร้านกุ้งราชินี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และ 3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารทะเลสดขอผู้บริโภคร้านกุ้งราชินี อำเภอเมือง จำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้บริโภคอาหารทะเลสดร้านกุ้งราชินี จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 400 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การทดสอบ t (Independent t-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารทะเลของผู้บริโภคกุ้งราชินี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.26) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.41) รองลงมาได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์อาหารทะเลสด ( = 4.30) ด้านการส่งเสริมการตลาด ( = 4.19) และด้านราคา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 4.14) ตามลำดับ 2) พฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารทะเลสดของผู้บริโภคร้านกุ้งราชินี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ส่วนใหญ่เลือกซื้ออาหารทะเลสดประเภท กุ้ง มีค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 501-1,000 บาท ความถี่ในการซื้อเฉลี่ยต่อเดือน 1-2 ครั้ง โดยมีปัจจัยที่ใช้ในการเลือกซื้ออาหารทะเลสด คือ ความสดใหม่ และตัดสินใจเลือกซื้ออาหารทะเลสดด้วยตนเองเพื่อนำมารับประทานกับครอบครัว และ 3) ผู้บริโภคที่มีเพศ และอาชีพ ต่างกัน ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารทะเลสดในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริโภคที่มีอายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารทะเลสดในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> วีระพงษ์ ปรือปรัง อรรถพล อรทัย Copyright (c) 2024 วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 2 6 15 38 อิทธิพลของประสบการณ์ในตราสินค้าและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีต่อความภักดีในตราสินค้าของผู้ใช้บริการ Netflix ของกลุ่มผู้บริโภค Generation Z https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jasrru/article/view/1342 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประสบการณ์ในตราสินค้า 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในตราสินค้าของผู้ใช้บริการ Netflix ของกลุ่มผู้บริโภค Generation Z การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ และกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่ม Generation Z ที่ใช้บริการแอปพลิเคชัน Netflix จำนวน 400 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงอนุมาน ได้แก่ วิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านประสบการณ์ที่มีตราสินค้า ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ตราสินค้าส่งผลต่อความภักดีในตราสินค้าของผู้ใช้บริการ Netflix ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05</p> สุทัตตา วรรณประเสริฐ ปวริศา จันทร ชญาดา ขำน้อย กมลพรรณ เสระฐิน นิภา นิรุตติกุล Copyright (c) 2024 วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 2 6 39 50 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิค KWDL https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jasrru/article/view/1088 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดแบบฝึกทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิค KWDL ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดแบบฝึกทักษะพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิค KWDL และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองผ้าอ้อม จำนวน 13 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดแบบฝึกทักษะในการแก้โจทย์ปัญหา แบบประเมินคุณภาพแบบฝึกทักษะ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ประสิทธิภาพ (E1 / E2) และ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาในการทดลองกับกลุ่มเป้าหมายพบว่า มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 74.44/73.84 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจมีต่อการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.92 ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด</p> กิตติพิชญ์ จันทรวีระกุล ปวีณา ขันธ์ศิลา ประภาพร หนองหารพิทักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 2 6 51 66 ความฉลาดรู้ด้านสถิติ ความฉลาดรู้ด้านข้อมูล และความฉลาดรู้ด้านสารสนเทศ: สิ่งที่แตกต่างและเหมือนกัน https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jasrru/article/view/1174 <p>สังคมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลข่าวสารทำให้ความฉลาดรู้เกี่ยวกับสถิติ ข้อมูล และสารสนเทศมีความสำคัญและเป็นจุดเน้นสำหรับการจัดการเรียนรู้มากขึ้น บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสิ่งที่แตกต่างและสิ่งที่เหมือนกันระหว่างความฉลาดรู้ด้านสถิติ ความฉลาดรู้ด้านข้อมูล และความฉลาดรู้ด้านสารสนเทศ สาระสำคัญ ประกอบด้วย 1) ความฉลาดรู้ด้านสถิติ มุ่งเน้นการรู้เท่าทันข้อสรุปทางสถิติที่พบ ซึ่งเกิดจากความเข้าใจและสามารถตั้งคำถามสืบย้อนกลับไปในกระบวนการแก้ปัญหาทางสถิติ ความฉลาดรู้ด้านข้อมูล เน้นการสร้างสารสนเทศหรือความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้ในโลกชีวิตจริง และความฉลาดรู้ด้านสารสนเทศ มุ่งเน้นการสร้างสารสนเทศใหม่ซึ่งเกิดจากการสังเคราะห์สารสนเทศที่เกี่ยวข้องและนำไปใช้ตอบคำถามหรือแก้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และ 2) ความฉลาดรู้ทั้ง 3 ประเภท มีสิ่งที่แตกต่างกัน ได้แก่ ความหมาย กระบวนการส่งเสริม เป้าหมาย ลักษณะการทำงาน ลักษณะสำคัญ และสาขาวิชา และสิ่งที่เหมือนกันคือเกิดขึ้นภายใต้การทำงานในลักษณะสหวิทยาการ และการประเมินอย่างมีวิจารณญาณต่อสารสนเทศที่พบ เมื่อเข้าใจสิ่งที่แตกต่างและและสิ่งที่เหมือนกันของความฉลาดรู้ทั้ง 3 ประเภท จะทำให้ครูจัดการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น</p> เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล Copyright (c) 2024 วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 2 6 67 82 ปราสาทบ้านพลวงกับการส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมชุมชนพื้นที่อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jasrru/article/view/1181 <p>บทความนี้เพื่อนําเสนอเกี่ยวกับปราสาทบ้านพลวงกับการส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมชุมชนพื้นที่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ พบว่า เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นในคติทางศาสนาพรามหณ์ ฮินดู โบราณสถานแห่งนี้มีความสําคัญต่อของชุมชนและมีบทบาทต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ในฐานะเป็นโบราณสถานที่ช่วยในการส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมชุมชน ได้มีการจัดงานประจําปี คือ การเซ่นไหว้เทพเจ้าและการจัดกิจกรรมประจําท้องถิ่นมีการรําบูชาปราสาท การจัดกิจกรรมชุมชน เป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยววัฒนธรรมท่องถิ่น ที่มีประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจชุมชน คุณค่าที่เกิดปราสาทบ้านพลวงและการส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชนพบว่า (1) คุณค่าเป็นบ่อทำให้เกิดเอกลักษณ์ประจําชุมชนท้องถิ่น (2) คุณค่าที่เกิดจากความเกรงกลัวต่อปราสาทบ้านพลวง ฐานคติความสำคัญในศาสนสถานและดวงวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชุมชนให้ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมได้ (3) ฐานคติของมนุษย์ที่มีความเชื่อในด้านให้โชคลาภ (4) คุณค่าด้านจักรวาลวิทยาชุมชนมีความเชื่อในเรื่อง โหราศาสตร์ (5) คุณค่าการสร้างปราสาทเสมือนเป็นการจําลองเขาพระสุเมรุที่ประดิษฐานพระผู้เป็นเจ้า (6) คุณค่าด้านเทววิทยามนุษย์มีความผูกพันกับเทพเจ้ามีความเชื่อต่อเทพเจ้า (7) คุณค่าด้านศิลปะการแสดงมีการจัดพิธีกรรมบูชา มีการจัดรําบูชาและตํานานเรื่องเล่าพื้นบ้าน (8) คุณค่าด้านวิถีชีวิต ที่ข้อปฏิบัติของคนในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม (9) คุณค่าด้านผลิตผลทางการเกษตรของชุมชนบ้านพลวงและชุมชน (10) คุณค่าด้านนิทานพื้นบ้านสามารถเป็นนวัฒกรรมการแสดงของชุมชน (11) คุณค่าด้านนวัฒกรรมเครื่องบูชา (12) คุณค่าด้านการสร้างอัตลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวควรมีชุดศิลปะการแสดงประจำชุมชน เป็นต้น</p> น้ำฝน จันทร์นวล ยโสธารา ศิริภาประภากร เกริกวุฒิ กันเที่ยง Copyright (c) 2024 วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 2 6 83 100 10.14456/jasrru.2024.41 การท่องเที่ยวด้านศาสนาเชิงจิตวิญญาณ เพื่อการส่งเสริมเส้นทางแสวงบุญวัดพรหมสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jasrru/article/view/1046 <p>บทความนี้มุ้งเน้นการท่องเที่ยวด้านศาสนาเชิงจิตวิญญาณ เพื่อการส่งเสริมเส้นทางแสวงบุญ วัดพรหมสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ประโยชน์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านจิตวิญญาณ การสักการะพระพุทธรูป การไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์และเสริมสิริมงคล การท่องเที่ยวด้านศาสนาเชิงจิตวิญญาณ การได้รับความรู้ด้านหลักธรรมและคําสอน การเรียนรู้ความเป็นมา รวมถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นต้น วัดพรหมสุรินทร์ ตําบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สําคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และพักผ่อน ปฏิบัติธรรม กิจกรรมต่าง ๆ ได้ เพราะวัด มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ประจําท้องถิ่นของจังหวัดสุรินทร์ และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวจากการเผยแพร่ไปตามสื่อต่างๆ เมื่อวิเคราะห์คุณค่าที่ได้จากการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชน พบว่า (1) คุณค่า พบว่าทําให้เกิดเอกลักษณ์ประจําถิ่น อาจเป็นสิ่งมีความรู้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศาสน สถาน เจดีย์ อนุสรณ์บูรพาจารย์สิ่งที่ได้ทําให้เกิดรายได้แก่ชุมชน จากการนําความโดดเด่นของพื้นที่ให้มาพัฒนา เป็นอย่างสร้างสรรค์ในด้าน ประเพณี วัฒนธรรม ความเป็นมาให้หลากหลายมิติ (2) คุณค่าที่เกิดจากการท่องเที่ยว ผู้เที่ยวได้รับการพัฒนาในด้านจิตใจทําให้ได้รับความรู้ เป็นการช่วยควบคุมจิตและพฤติกรรมได้ในระดับหนึ่ง ทําให้เกิดในด้านสุนทรียศาสตร์ด้วยทางหนึ่งในคณะการท่องเที่ยวและจิตใจที่เอิบอิ่ม (3) คุณค่าทางอิทธิพลของสถานที่พบว่ามีความสําคัญทําให้เกิดพลังในด้านต่างๆ ทําให้ผู้คนได้ปฏิบัติตาม คล้อยตาม เห็นตาม มีความเชื่อในความคุณงามความดี (4) คุณค่าด้านการพัฒนาให้เกิดความน่าสนใจ ดึงดูด เพื่อเข้ามาศึกษา เรียนรู้ ได้แก่ การจัดสถานที่ให้ร่มรื่น (5) คุณค่าด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชุมชน</p> ยโสธารา ศิริภาประภากร เกริกวุฒิ กันเที่ยง น้ำฝน จันทร์นวล สุริยา คลังฤทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 2 6 101 116 10.14456/jasrru.2024.42