การพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • บุญเพ็ง สิทธิวงษา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.29

คำสำคัญ:

การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, เศรษฐกิจฐานราก

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพล แลเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างของการศึกษา คือ ประชาชนผู้มีมีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน การศึกษานี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย โดยการทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าเท่ากับ 0.824” และกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า ระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.06 S.D.=.26) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความเหลื่อมล้ำ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.09 S.D.=.26) ด้านการศึกษา อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.04 S.D.=.31) และด้านรายได้ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.03 S.D.=.33) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี โดยรวมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านการมีงานทำX1 ด้านที่อยู่อาศัยX3 ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .585 และ .025 ตามลำดับ ควรมีการส่งเสริมในเรื่องการศึกษาให้ครอบคลุมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกฐานะให้กับประชาชนในการสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอย่างชัดเจน ทั้งลดความเหลื่อมล้ำทางฐานะ สังคมเศรษฐกิจในครอบครัวอย่างรอบด้านในการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่อย่างมีประสิทธิผล เพื่อนำไปปฏิบัติกับชุมชนให้เกิดผลผลิตที่มีคุณค่าต่อการพัฒนคุณภาพชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม

Downloads

Download data is not yet available.

References

กาญจนา รอดแก้ว, ภุชงค์ เสนานุช และรณรงค์ จันใด. (2564). การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 19(1) : 48-66.

จักรกริช กวงแหวน. (2560). การเสริมสร้างศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากด้วยการจัดการกลุ่มของมูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

จุฑาวรรณ ลาจันทึก และศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม. (2564). ผลกระทบของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ (ไทยนิยม ยั่งยืน) ต่อกลไกการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา: อำเภอเมืองขอนแก่น. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal). 10(1) : 523-550.

ฐายิกา จันทร์เทพ. (2559). การศึกษาผลการดำเนินงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ. ปริญญานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะสำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐกิจ ภูรีสถิต. (2560). การนำนโยบายโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ตาม “โครงการไทย นิยม ยั่งยืน” (หมู่บ้าน/ชุมชนละสองแสนบาท) ปี 2561 ไปปฏิบัติของสำนักงานเขตลาดพร้าว. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไททัศ มาลา. (2560). 120 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย (พ.ศ. 2440-2560): พัฒนาการและเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ของรัฐไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 5(1) : 343-356.

บุหงา ชัยสุวรรณ และคณะ. (2562). ปัจจัยพยากรณ์ความสำเร็จในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน: กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 27(53) : 87-108.

พัชรีรัตน์ นาวา. (2563). บทบาทของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

หทัยชนก คะตะสมบูรณ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาตําบล เนินศาลา อําเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8(2) : 474-488.

สนิทเดช จินตนา. (2562). ความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานรากในการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ยุทธศาสตร์และความมั่นคง) คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York : Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2023

How to Cite

สิทธิวงษา บ. (2023). การพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(5), 1–14. https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.29