ศึกษาสมบัติทางกลของพอลิเมอร์ผ่านการใช้งานแล้ว เมื่อเติมเถ้าแกลบเป็นสารเติมแต่ง ขึ้นรูปด้วยกระบวนการฉีดพลาสติกเข้าแม่พิมพ์
คำสำคัญ:
เถ้าแกลบ, พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงรีไซเคิล, การขึ้นรูปด้วยกระบวนการฉีดพลาสติก เข้าแม่พิมพ์, คำสำคัญ : เถ้าแกลบ, พอลิเอทธิลีนความหนาแน่นสูงรีไซเคิล, การขึ้นรูปด้วยกระบวนการฉีดพลาสติกเข้าแม่พิมพ์, การทดสอบสมบัติทางกลบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาสมบัติทางกล เมื่อเติมเถ้าแกลบ (RHA) เป็นสารเติมแต่งลงในพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงที่ผ่านการใช้งานแล้ว (rHDPE)จากการทำวิจัยได้ศึกษาเถ้าแกลบขนาด 300 และ 800 ไมโครเมตร ที่อัตราผสม 10 - 40% โดยน้ำหนักเป็นสารแต่งเติม เติมลงในพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงที่ผ่านการใช้งานแล้ว (rHDPE) ผสมด้วยวิธีการผสมแบบแห้ง (Dry blend) แล้วขึ้นรูปด้วยกระบวนการฉีดพลาสติกเข้าแม่พิมพ์
จากผลทดสอบ พบว่า มีแนวโน้มที่จะมีสมบัติทางกลลดลงเมื่อมีการเติมเถ้าแกลบมากขึ้น แต่ก็พบว่าทำให้
ค่ามอดูลัสของการต้านทานการดัดงอมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกันระหว่างเม็ดพลาสติกใหม่ HDPE กับเม็ดพลาสติก rHDPE พลาสติกผสมระหว่าง rHDPE และเถ้าแกลบขนาด 300 ไมโครเมตร ที่ทุกอัตราส่วนผสมและพลาสติกผสมระหว่าง rHDPE และเถ้าแกลบขนาด 800 ไมโครเมตร ที่อัตราส่วน ผสมเถ้าแกลบ 10% โดยน้ำหนัก เท่ากับ 1277, 764.3, 688.5, 728, 1916, 2541 และ 933.4 MPa ตามลำดับ ส่วนค่ามอดูลัสของการต้านทานการดึงเท่ากับ 255.42, 160.5, 241.1, 234.66, 517.34, 924.96 และ 242.6 MPa ตามลำดับ
ทำให้สามารถได้ข้อสรุปจากงานวิจัยนี้ว่า การเติมเถ้าแกลบลงใน rHDPE ไม่ได้เพิ่มความสามารถทางกลให้กับงานฉีดพลาสติก แต่สามารถเพิ่มมอดูลัสให้สูงขึ้นเมื่อมีการเติมเถ้าแกลบมากขึ้น ในขณะที่
ขนาดของเถ้าแกลบที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นถึง 800 ไมโครเมตร มีแนวโน้มทำให้สามารถขึ้นรูปได้ยากมากขึ้น
References
ไทยพลาสติก รีไซเคิล : รับซื้อและจำหน่ายพลาสติกรีไซเคิล สืบค้นจาก http://www.thaiplasticrecycle.com
มูลนิธิโลกสีเขียว, สืบค้นจาก http://www.greenworld.or.th
ชัย จาตุรพิทักษ์กุล, จักรพันธุ์ วงษ์พา และสุรพันธ์ สุคันธปรีย์. การพัฒนาเถ้าแกลบเปลือกไม้ เพื่อใช้ในงานคอนกรีต เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. (2545).วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์,(หน้า163-172)
วิวรรณ ธรรมมงคล. [ออนไลน์]. ม.ป.ป. พลาสติกรีไซเคิล. สืบค้นจาก http://www.kanchanapisek.or.th/kp11/articles/article-2.th.html (3 กรกฎาคม 2561)
นิลุบล เผือกบัวขาว. (2550). สมบัติเชิงกลและสัณฐานวิทยาของพอลิเอทิลีนชนิดควาหนาแน่นสูงที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูปโดยมีแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นสารเติมแต่ง. วิทยานิพนธ์ ภาควิชา เคมีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
เสาวรจน์ ช่วยจุลจิตร์. วิทยาศาสตร์โพลิเมอร์ 1. กรุงเทพฯ : ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงแข บุตรกูล. การผลิตคอมพาวด์วัสดุผสมพอลิเมอร์กับเส้นใยธรรมชาติ, การประชุมศรีนครินทรวิโรฒวิชาการครั้งที่ 5, วันที่ 17-18 มีนาคม (2554), SWU1188
วิโรจน์ เตชะวิญญูธรรม. (2553). วิศวกรรมการฉีดพลาสติก. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
ประสงค์ ก้านแก้ว. การศึกษาหาอิทธิพลความหนาของ AmorphousThermoplastics ที่ส่งผลกระทบต่อ ดัชนีการไหล. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม (2557)
John M. Dealy and Kurt F. Wissbrun. (1989). Melt rheology andits role in plastics processing theory and applications. New York : VAN NOSTRAND REINHOLD.
Spencer, R. S. and Gilmore, G. D. Residual strains in Injection molded polystyrene. (1950). M odern Plastics. (28, 97) (Dec.1950).
Tim A. Osswald, Lih-Sheng (Tom) Turng and Paul J.Gramann. (2002). Injection molding handbook. Munich Hanser.
สถาพร ชาตาคม. การศึกษาหาอิทธิพลของความหนาที่ส่งผลกระทบตอระยะทางการไหล ของเทอร์โมพลาสติกกลุม Polyolefin. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปที่ 2 ฉบับพิเศษ (ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ป) สิงหาคม (2549)
