วารสารทัศนมิติทางการศึกษา https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE <p><strong> วารสารทัศนมิติทางการศึกษา (Journal of Perspectives in Education : JPE) ซึ่งเป็นวารสารเพื่อการเผยแพร่ผลงานทางด้านการศึกษาที่เป็นความสนใจของนักวิชาการที่หลากหลายสาขาวิชา (cross-disciplinary interests) ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ เช่น การบริหารการศึกษา หลักสูตรและการสอน การจัดกระบวนการเรียนรู้ วิจัยการศึกษา การวัดและประเมินผลการศึกษา สถิติและสารสนเทศการศึกษา จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว สื่อทางการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</strong></p> <p><strong>ISSN 2822-1346 (Online)</strong> </p> th-TH jpe@hu.ac.th (ผศ.ดร. นวรัตน์ ไวชมภู) montatip.da@hu.ac.th (นางพิไลพร เกษตรสมบูรณ์) Tue, 10 Dec 2024 09:14:24 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานการควบคุมภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE/article/view/905 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานการควบคุมภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานการควบคุมภายในของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตาม เพศ ตำแหน่งการทำงาน และประสบการณ์ในทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปฏิบัติงานในสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 202 คน และสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลากแบบไม่กลับคืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น หาค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ได้ค่า 1.00 และหาค่าความเชื่อมั่น ได้เท่ากับ 0.991 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีอิสระ การทดสอบค่าเอฟ และทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานการควบคุมภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานการควบคุมภายในของผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่มีเพศต่างกันมีความเห็นต่อการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานการควบคุมภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> นิอัสมา เจษฎาภา, นิตยา เรืองแป้น Copyright (c) 2024 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE/article/view/905 Tue, 10 Dec 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE/article/view/979 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและปัจจัยทางการบริหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางการบริหารกับภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู กำหนดขนาดโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 129 คน และสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ด้านการสื่อสารดิจิทัล ด้านการมีความรู้ดิจิทัล และด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล 2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางการบริหารกับภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกทุกคู่ (r = 702, .794, .690, .795) </p> วันซูรัยณา ดอแม, พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ Copyright (c) 2024 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE/article/view/979 Tue, 10 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ร่วมกับบัตรคำและแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE/article/view/919 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบผลพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาจีนก่อนและหลังกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ร่วมกับบัตรคำและแบบฝึกทักษะ 2) สำรวจความพึงพอใจกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ร่วมกับบัตรคำและแบบฝึกทักษะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 14 ห้องเรียน โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ภาคเรียนที่ 1/2566 รวมทั้งสิ้น 505 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ 2) บัตรคำพยัญชนะและสระ 3) แบบฝึกทักษะ 4) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 5) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้รูปแบบ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ก่อนเรียน (M=6.38, SD=4.89) และหลังเรียน (M=19.83, SD=2.20) 2) ความพึงพอใจของการพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ร่วมกับบัตรคำและแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (M=4.05, SD=0.76) สรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เป็นการพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ร่วมกับบัตรคำและแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน วัฒโนทัยพายัพ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 และความพึงพอใจของการพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ร่วมกับบัตรคำและแบบฝึกทักษะนั้น โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก </p> ปาณิสรา ไชยมาโย, พรภวิษย์ หล้าพีระกุล Copyright (c) 2024 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE/article/view/919 Tue, 10 Dec 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารตามแผนกลยุทธ์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนราธิวาส https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE/article/view/910 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารตามแผนกลยุทธ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบ จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และ 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารตามแผนกลยุทธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนราธิวาส คำนวณจากสูตรของเครซี่และมอร์แกน จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีและค่าเอฟ และการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารตามแผนกลยุทธ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารตามแผนกลยุทธ์ จำแนกตามเพศและระดับการศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนตัวแปรประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ครูที่มีประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า 5 ปี มีระดับความคิดเห็นแตกต่างจากครูที่มีประสบการณ์การทำงาน 11-15 ปี ทั้ง 4 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารตามแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารควรศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลามีวิสัยทัศน์ในการทำงานที่ดี ควรวางแผนเป้าหมายในอนาคตที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน จะต้องสร้างแรงจูงใจในการทำงาน มีความเข้าใจ สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณในการแก้ปัญหา และควรแก้ปัญหาให้ตรงจุดเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารงานให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น</p> มูฮัมหมัดอัสรี ยูโซะ, นิตยา เรืองแป้น Copyright (c) 2024 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE/article/view/910 Tue, 10 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาการปฏิบัติงานสารบรรณของครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE/article/view/938 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการปฏิบัติงานสารบรรณของครู 2) เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานสารบรรณของครู และ 3) เพื่อประเมินผลการพัฒนาการปฏิบัติงานสารบรรณของครู โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุราษฎร์ธานี ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของเคมมิสและแม็คแทกการ์ท แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกต และการสะท้อนผล ดำเนินการ 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่งานสารบรรณ จำนวน 24 คน มีผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือจำนวน 5 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาการปฏิบัติงานสารบรรณของครู 2) แบบนิเทศติดตามผลการปฏิบัติงานสารบรรณ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ 4) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานสารบรรณ 5) แบบประเมินความพึงพอใจการประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 6) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานสารบรรณของครู ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคําถามและวัตถุประสงค์ เท่ากับ 1.0 ทุกแบบสอบถาม และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสภาพปัญหาการปฏิบัติงานสารบรรณของครูและแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานสารบรรณได้เท่ากับ 0.94 และ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการปฏิบัติงานสารบรรณของครู มีปัญหาอยู่ในระดับมาก โดยมีปัญหามากที่สุดในเรื่อง การรับหนังสือราชการ รองลงมาคือ การจัดทำหนังสือราช การทำลายหนังสือราชการ การยืมหนังสือราชการ การส่งหนังสือราชการ และการเก็บรักษาหนังสือราชการ 2) การพัฒนาการปฏิบัติงานสารบรรณของครู ใช้วิธีการประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศติดตาม 3) ผลการประเมินการพัฒนาการปฏิบัติงานสารบรรณของครู พบว่า ผลการทดสอบความรู้เกี่ยวกับงานสารบรรณหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าก่อนการประชุม ผลการประเมินทักษะการปฏิบัติงานสารบรรณของครู โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มีทักษะมาก และผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้ปฏิบัติงานสารบรรณ มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานสารบรรณภาพรวม อยู่ในระดับมาก</p> สุภาวรรณ หวานแก้ว, ญาณิศา บุญจิตร์, จิรศักดิ์ แซ่โค้ว Copyright (c) 2024 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE/article/view/938 Tue, 10 Dec 2024 00:00:00 +0700