วารสารทัศนมิติทางการศึกษา https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE <p>วารสารทัศนมิติทางการศึกษา (Journal of Perspectives in Education : JPE) จัดทำขึ้นโดยคณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการของนักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปด้านการศึกษา เพื่อสร้างเครือข่ายทางวิชาการด้านการศึกษาภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ตอบสนองพันธกิจหลักในการสร้างองค์ความรู้ และการเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และมุ่งสู่วิสัยทัศน์ด้าน Digital Transformation และความสามารถหลักของมหาวิทยาลัยในการบริหารจัดการด้วยรูปแบบ Digital University อันเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนาด้านการศึกษา</p> <p> ผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์ จะต้องเป็นบทความวิชาการและบทความวิจัยของนักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปด้านการศึกษา ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เป็นผลงานที่แก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนา สามารถนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ด้านการศึกษา โดยเป็นบทความที่ยังไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสารใดๆ</p> <p><strong>ขอบเขตวารสาร</strong></p> <p> วารสารทัศนมิติทางการศึกษา (Journal of Perspectives in Education : JPE) เป็นวารสารเพื่อการเผยแพร่ผลงานทางด้านการศึกษาที่หลากหลายสาขาวิชา (cross-disciplinary) ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ โดยมีขอบข่ายการรับตีพิมพ์ ดังนี้</p> <p><strong>สาขาที่รับตีพิมพ์</strong></p> <p><em>* การบริหารการศึกษา </em><em>* หลักสูตรและการสอน </em><em>* การจัดกระบวนการเรียนรู้ </em></p> <p><em>* วิจัยการศึกษา </em><em>* การวัดและประเมินผลการศึกษา </em><em>* สถิติและสารสนเทศการศึกษา </em></p> <p><em>* จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว </em><em>* สื่อทางการศึกษา </em><em>* เทคโนโลยีการศึกษา </em></p> <p><em>* การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย </em></p> <p><em>* และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาทุกระดับ</em></p> <p><strong>ประเภทของบทความ (ภาษาไทย)</strong><br /> <strong>1. บทความวิจัย</strong></p> <p> เป็นผลงานวิจัยของนักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปด้านการศึกษา เป็นผลงานที่แก้ไข ปรับปรุง พัฒนา ตามขอบเขตของวารสาร สามารถนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ด้านการศึกษา บทความวิจัยไม่ควรเกิน 8,000 คำ ประกอบด้วย บทนำ, วัตถุประสงค์การวิจัย, วิธีดำเนินการวิจัย , ผลการวิจัย, อภิปรายผล, สรุปผลการวิจัย, ข้อเสนอแนะการวิจัย, หมายเลขจริยธรรมการวิจัย IRB (ถ้ามี), กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และรายการอ้างอิง<br /> <strong>2. บทความวิชาการ</strong><br /> เป็นบทความวิชาการของนักวิชาการ และบุคคลทั่วไปด้านการศึกษา เป็นผลงานนำเสนอการวิเคราะห์หรือการสังเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มปัจจุบันและเสนอทิศทางในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านการศึกษา ตามขอบเขตของวารสาร สามารถนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ด้านการศึกษา บทความวิชาการไม่ควรเกิน 9,000 คำ ประกอบด้วย บทนำ, เนื้อเรื่อง, บทสรุป, กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และรายการอ้างอิง</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ </strong></p> <p> บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ที่หลากหลายสถาบัน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review) </p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p> วารสารทัศนมิติทางการศึกษา ปีที่ 1/2566 (ฉบับที่ 1-3), ปีที่ 2/2567 (ฉบับที่ 1-3) และ ปีที่ 3/2568 (ฉบับที่ 1-3) ไม่มีค่าธรรมเนียมการส่งบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในกระบวนการจัดการบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์เผยแพร่ใด ๆ ทั้งสิ้น</p> <p><a href="https://portal.issn.org/resource/ISSN/2822-1346"><strong>ISSN 2822-1346 (Online)</strong></a></p> <p> </p> คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ th-TH วารสารทัศนมิติทางการศึกษา 2822-1346 การบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE/article/view/1135 <p>การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 2) เปรียบเทียบการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 จำแนกตามตัวแปร ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 จำนวน 306 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าเอฟ เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทดสอบโดยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ระดับการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>การเปรียบเทียบการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 จำแนกตามตัวแปรประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา พบว่า ตัวแปรประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า ภาพรวมไม่แตกต่างกัน และตัวแปรขนาดสถานศึกษา พบว่า ภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> </ol> นูรีฮัน ดอเลาะ จรุณี เก้าเอี้ยน Copyright (c) 2025 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-25 2025-04-25 3 1 1 14 ความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE/article/view/1193 <p>การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึ่งประสงค์การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายะลา เขต 3 เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 227 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI <sub>modified</sub>) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 ภาพรวมอยู่ระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ ภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด <strong> </strong>2) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษามีความต้องการจำเป็นทุกด้าน เรียงตามลำดับความต้องการจำเป็นของ PNI <sub>modified</sub> ได้แก่ ด้านการปฏิบัติงาน (PNI <sub>modified = </sub>0.050) ด้านการให้ความรู้ในสิ่งที่จะทำ (PNI <sub>modified = </sub>0.048) ด้านการวางแผนการนิเทศ (PNI <sub>modified = </sub>0.039) ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจ (PNI <sub>modified = </sub>0.036) และด้านการประเมินผลผลิตของการดำเนินงาน (PNI <sub>modified = </sub>0.031) 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนิเทศภายใน ด้านกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผนการนิเทศ 2) ด้านให้ความรู้ในสิ่งที่จะทำ 3) ด้านการปฏิบัติงาน 4) ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจ และ 5) ด้านการประเมินผลผลิตของการดำเนินงาน ส่วนหลักการนิเทศภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) หลักผู้นำ 2) หลักความร่วมมือ 3) หลักการเห็นใจ และ 4) หลักการสร้างสรรค์</p> ธัญลักษณ์ ศรีสวัสดิ์ พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ Copyright (c) 2025 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-25 2025-04-25 3 1 15 30 การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาชายแดนไทย-มาเลเซีย จังหวัดนราธิวาส https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE/article/view/1152 <p>การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาชายแดนไทย-มาเลเซีย จังหวัดนราธิวาส 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการแบบ มีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาชายแดนไทย-มาเลเซีย จังหวัดนราธิวาส จำแนกตาม ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาชายแดนไทย-มาเลเซีย จังหวัดนราธิวาส กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1,239 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 300 คน โดยคำนวณจากการใช้สูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าเอฟ (F-test) และทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีของเชฟเฟ (Scheffe's Method) ผลการค้นคว้าอิสระ พบว่า</p> <ol> <li>ระดับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาชายแดนไทย-มาเลเซีย จังหวัดนราธิวาส พบว่า ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก</li> <li>ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาชายแดนไทย-มาเลเซีย จังหวัดนราธิวาส จำแนกตามตัวแปรประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา พบว่า ตัวแปรประสบการณ์การทำงาน ระดับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และตัวแปรขนาดของสถานศึกษา ระดับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>ผลการประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาชายแดนไทย-มาเลเซีย จังหวัดนราธิวาส พบว่า ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ทั้งโครงการและกิจกรรมที่ส่งผลให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการตัดสินใจภายในโรงเรียนร่วมกันตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพต่อการติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และผู้บริหารเปิดโอกาสให้กรรมการสถานศึกษาได้รับผลประโยชน์เมื่อเกิดผลลัพธ์ความสำเร็จอันเกิดจากการบริหารจัดการร่วมกัน</li> </ol> อมาวสุ อาแว จรุณี เก้าเอี้ยน Copyright (c) 2025 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-25 2025-04-25 3 1 31 47 การพัฒนาชุดกิจกรรมการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ เรื่อง ส่วนประกอบและอัตราเร็วของคลื่นกล ตามรูปแบบของโพลยา ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ สำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE/article/view/1130 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ เรื่อง ส่วนประกอบและอัตราเร็วของคลื่นกล ตามรูปแบบของโพลยา ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ สำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีความเหมาะสมร้อยละ 80 และให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 3) เพื่อศึกษาศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียน แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 98 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมและแผนการจัดการเรียนรู้ แก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง ส่วนประกอบและอัตราเร็วของคลื่นกล ตามรูปแบบของโพลยา ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียน ผลการวิจัยพบว่า <br />ความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ เรื่อง ส่วนประกอบและอัตราเร็วของคลื่นกล ตามรูปแบบของโพลยา ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ สำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาสมในระดับมากที่สุด ( X ̅=4.77, SD= 0.42) คิดเป็นร้อยละ 95.33 และมประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม ( / ) เท่ากับ 81.94/81.08 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ เรื่อง ส่วนประกอบและอัตราเร็วของคลื่นกล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ เรื่อง ส่วนประกอบและอัตราเร็วของคลื่นกล ตามรูปแบบของโพลยา ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( X ̅=4.60, SD= 0.65) </p> สิทธิเดช ชมจันทร์ พชรวิชญ์ คงแก้ว Copyright (c) 2025 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-25 2025-04-25 3 1 48 61 รูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ตามทฤษฎีของ Jeanette Plauche Parker and Lucy Gremillion Begnaud ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE/article/view/1169 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ 2) เพื่อสร้างรูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ตามทฤษฎีของ Jeanette Plauche Parker and Lucy Gremillion Begnaud ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ตามทฤษฎีของ Jeanette Plauche Parker and Lucy Gremillion Begnaud เพื่อนำมาสร้างแบบสัมภาษณ์ และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลในขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน เครื่องมือ คือแบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ .988 และนำรูปแบบมาสร้างแบบสอบถามระดับความเหมาะสมในการนำรูปแบบไปปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างคือ ครู จำนวน 259 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>คุณลักษณะของรูปแบบของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ตามทฤษฎีของ Jeanette Plauche Parker and Lucy Gremillion Begnaud ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวิสัยทัศน์ 2) ด้านความยืดหยุ่น 3) ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา</li> <li>รูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ตามทฤษฎีของ Jeanette Plauche Parker and Lucy Gremillion Begnaud ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ประกอบด้วย 1. ด้านวิสัยทัศน์ ได้แก่ 1) มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์บริบทสถานศึกษาเพื่อกำหนดภาพในอนาคตที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง 2) มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา 3) มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขเพื่อติดตามการบรรลุวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา 2. ด้านความยืดหยุ่น ได้แก่ 1) มีความรู้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานที่หลากหลาย 2) มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กรมีความเหมาะสมถูกต้องตามกฎระเบียบของสถานศึกษา 3) มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบและมอบอำนาจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไม่ขัดต่อกฎระเบียบ 3. ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา ได้แก่ 1) เป็นที่ปรึกษาชี้แนะแนวทางและช่วยแก้ปัญหาได้ 2) รับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อหาแนวทางหรือข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา 3) นำความรู้และประสบการณ์ในอดีตมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ เมื่อนำรูปแบบไปหาระดับความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติ พบว่า ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด</li> </ol> กัลยดา พงศ์ศิริ จรุณี เก้าเอี้ยน Copyright (c) 2025 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-25 2025-04-25 3 1 62 76