ศึกษาหลักมรณสติของธิดานายช่างหูกที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1. เพื่อศึกษามรณสติในคัมภีร์พระไตรปิฎก และ 2. เพื่อศึกษาหลักมรณสติของธิดานายช่างหูกที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการศึกษาเอกสารซึ่งมีพระไตรปิฎกและการทบทวนเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. มรณสติในคัมภีร์พระไตรปิฎก คือ การฝึกฝนและการพิจารณาความตายเพื่อเตือนสติและพัฒนาจิตใจตามคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีเป้าหมายหลักในการเข้าใจความไม่เที่ยงของชีวิตและการเตรียมตัวเพื่อการตายอย่างสงบ มรณสติในพระไตรปิฎกเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถพัฒนาจิตใจและเข้าใจความจริงของชีวิตและความตายได้ดีขึ้น ความตายมี 2 ลักษณะ คือ 1) ยึดเอาความตายของบุคคลที่ตายตามกาลหรือตามอายุไขที่กำหนด และ 2) ยึดเอาความตายนอกกาลหรือนอกเวลาอันสมควร 2. หลักมรณสติของธิดานายช่างหูกที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท ลูกสาวของนายช่างหูกคนหนึ่ง อายุ 16 ปี ได้เจริญมรณสติอย่างเดียวตลอดทั้งกลางวันกลางคืน การมีสติที่ต่อเนื่องอยู่กับกรรมฐาน หลังจากสิ้น 3 ปีแล้ว นางทำกรรมฐาน มีสติ ทำความเพียรอยู่เสมอ อินทรีย์ พละก็มีขึ้น ตามหลักของโพธิปักขิยธรรม เริ่มจากสติปัฏฐาน 4 คือ ให้มีสติ ไม่หลงลืมตัวเอง มีความรู้ตัวอยู่เสมอ ทำความเพียรต่อเนื่อง ตามหลักสัมมัปปธาน 4 จะได้สมาธิตามหลักอิทธิบาท 4 คุณธรรมฝ่ายดีก็จะมีขึ้น เป็นอินทรีย์ 5 พละ 5 จนได้บรรลุธรรมโสดาบัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จินต์จุฑา รอดพล. (2549). “การตายดี: มุมมองจากผู้สูงอายุไทยพุทธ”. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระณัฐกิตติ อนารโท (ผุยเหง้า). (2551). “ศึกษาหลักมรณสติในพระไตรปิฎก”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สีวลี ศีริไล. (2545). รวมบทความวิชาการจริยศาสตร์. ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหิดล.