ศึกษาวิเคราะห์กัมมัฏฐาน 40 ของครูบาอภิชัยขาวปี

Main Article Content

พระครูพิพัฒน์ปริยัตยาภรณ์ (อภิวัฒน์ ทาระทอง)
พระมหาวิเศษ ปญฺญาวชิโร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง ศึกษาวิเคราะห์กัมมัฏฐาน 40 ของครูบาอภิชัยขาวปี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนาเถรวาท และวิเคราะห์กัมมัฏฐาน 40 ของครูบาอภิชัยขาวปี โดยการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. กัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนา หมายถึงการปฏิบัติธรรมและสมาธิเพื่อพัฒนาจิตใจและปัญญาให้บริสุทธิ์และสงบ กัมมัฏฐานสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ สมถกัมมัฏฐานที่เน้นความสงบของจิต และวิปัสสนากัมมัฏฐานที่เน้นการเห็นแจ้งในความเป็นจริงของชีวิต ซึ่งในประเทศไทย การปฏิบัติกัมมัฏฐานมีหลากหลายแนวทาง เช่น สายธุดงค์ สายอานาปานสติ และสายวิปัสสนากัมมัฏฐานแบบสติปัฏฐาน สำหรับการปฏิบัติกัมมัฏฐานในล้านนาเน้นการผสมผสานกับวิถีชีวิตประจำวันและวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น การใช้ภาษาถิ่นและการเจริญเมตตาภาวนา การปฏิบัติเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้จิตใจสงบและบริสุทธิ์จากกิเลส และนำไปสู่ความหลุดพ้นที่แท้จริง ซึ่งก็คือการบรรลุพระนิพพาน 2. ครูบาอภิชัยขาวปีเป็นพระนักพัฒนาที่สืบทอดแนวทางจากครูบาศรีวิชัย โดยท่านมุ่งเน้นการสร้างศาสนสถานและสาธารณประโยชน์ทั่วภาคเหนือ แม้ว่าท่านจะถูกจับสึกหลายครั้ง แต่ยังคงยึดมั่นในอุดมการณ์และตัดสินใจครองผ้าขาวตลอดชีวิต กัมมัฏฐานของครูบาอภิชัยขาวปีมีรากฐานมาจากครูบาศรีวิชัยและกัมมัฏฐานล้านนาโบราณ ซึ่งกัมมัฏฐานนี้ประกอบด้วยสมถกรรมฐาน 40 ประการ ได้แก่ กสิณ 10, อนุสสติ 10, อสุภ 10, พรหมวิหาร 4, อรูปฌาน 4, อาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัตถาน

Article Details

How to Cite
(อภิวัฒน์ ทาระทอง) พ. ., & ปญฺญาวชิโร พ. . (2024). ศึกษาวิเคราะห์กัมมัฏฐาน 40 ของครูบาอภิชัยขาวปี. วารสารธรรมสาส์น, 3(2), 24–37. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JDSN/article/view/1721
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ แสนประสิทธิ์ พระครูธรรมธรชัยวิชิต ชยาภินนฺโท และวิโรจน์ อินทนนท์. (2565). “ศึกษาวิเคราะห์หลักการ ปฏิบัติกัมมัฏฐานล้านนาที่ปรากฏในวรรณกรรมพระพุทธศาสนา”. วารสารปรัชญาอาศรม. 4 (2): 34-48.

ณัฐพงศ์ ดวงแก้ว. (2559). “การศึกษากระแส ครูบาคติใหม่ ในภาคเหนือของไทย พุทธทศวรรษ 2530-2550”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์. คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหาสมเดช รกฺขิตธมฺโม (พวงพิมาย). (2565). “ศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมที่มีความสัมพันธ์ระหว่างสมถกัมมัฏฐานและ วิปัสสนากัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิโรจน์ อินทนนท์. (2559). “กัมมัฏฐานล้านนา : รูปแบบ วิธีปฏิบัติและการสืบทอด”. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี และ คณะ. (2560). “กัมมัฏฐานโบราณล้านนา : ที่มา ลักษณะ และการเสื่อมสูญ”. วารสารพื้นถิ่น โขง ชี มูล. 3 (2): 184 - 187.