ประเพณีถวายสลากภัตในล้านนา

Main Article Content

พระฉัตรมงคล กาบศรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของสลากภัตในพระพุทธศาสนา และ 2. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของสลากภัตในล้านนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร
ผลการวิจัยพบว่า สลากภัต แปลว่า อาหารถวายพระภิกษุสงฆ์โดยวิธีจับสลากนับเข้าในสังฆทาน เพราะเป็นการถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป ไม่ได้จำเพาะเจาะจงแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ประวัติความเป็นมาของสลากภัตเริ่มมีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ในทางล้านนานั้นนิยมจัดประเพณีในช่วงปลายเทศกาลเข้าพรรษา ราวปลายเดือนสิงหาคม จนถึงเดือนตุลาคม เพื่อเป็นการเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน และหมู่บ้านใกล้เคียง อีกทั้งเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่บิดา มารดา และญาติที่ล่วงลับไปแล้วเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที นอกจากนี้ ผู้ถวายมักจะอุทิศกุศลนั้นให้ตนเองด้วย เพราะเชื่อว่าเมื่อจากโลกนี้ไปแล้วหากได้ไปเกิดในภพอื่นก็จะได้รับสิ่งของที่ตนเองได้อุทิศไว้เมื่อยังมีชีวิต และถือเป็นการบริจาคทานที่ได้พละอานิสงส์มากของการถวายทานสลากภัต

Article Details

How to Cite
กาบศรี พ. (2024). ประเพณีถวายสลากภัตในล้านนา. วารสารธรรมสาส์น, 2(2), 1–18. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JDSN/article/view/1708
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ อินทรแสง. (2549). สืบฮิตสานฮอย: ประเพณีตานสลากภัต และสลากย้อม จังหวัดลำพูน. ลำพูน: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน.

จันทรา ทองสมัคร. (2552). งานบุญเดือนสิบ: เวลาแห่งการอุทิศ คุณธรรมจริยธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บางกอกอินเฮ้าส์.

พระบุญชุม วชิโร. (2563). “ศึกษาวิเคราะห์ปุพพเปตพลี: ตามประเพณีตานก๋วยสลาก”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศาสนโสภณ (แจ่ม จตฺตสลฺโล). (2556). ธรรมสมบัติ หมวด 12 คาถาธรรมบทแปล. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุกราชวิทยาลัย.

พระสมนึก ทับโพธิ์ และคณะ. (2565). “นวัตกรรมเพื่อการสืบสานวัฒนธรรมประเพรีของจังหวัดลำพูน”. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. 8 (3): 24-40.

ไพรินทร์ ณ วันนา. “ศึกษาวิเคราะห์ คุณค่าและความสำคัญของสลากย้อมที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมลำพูน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภารัตน์ ศรีไสคำ และสุวารี พาพะหม. (2552). งานบุญเดือนสิบ: เวลาแห่งการอุทิศ. กรุงเทพมหานคร: บางกอกอินเฮ้าส์.

อลิสา รามโกมุท. (2552). พระราชพิธีสารทและประเพณีสารทไทย. กรุงเทพมหานคร: บางกอกอินเฮ้าส์.