คติความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุในล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับเขาพระสุเมรุในพระพุทธศาสนา และ 2. เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับเขาพระสุเมรุในล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การศึกษาเอกสารประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดเกี่ยวกับเขาพระสุเมรุมีปรากฏในพระไตรปิฎก และคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในยุคหลัง คือ อรรถกถา จักรวาลทีปนี และไตรภูมิพระร่วง โดยได้กล่าวตรงกับว่า เขาพระสุเหรุศูนย์กลางของโลกหรือจักรวาล เป็นที่อยู่ของสิ่งมีวิญญาณในภพและภูมิต่างๆ ของสัตวโลก ตั้งอยู่เหนือน้ำ มีภูเขารองรับ ๓ ลูก คือ ตรีกูฏ (สามเส้าหรือสามยอด) ความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุในล้านนานั้นก็ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ทำให้เกิดอิทธิพลต่อศิลปกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม และประเพณี วัฒนธรรม เช่น การสร้างวัดที่ยึดโยงกับแนวคิดของเขาพระสุเมรุ การสร้างสัตภัณฑ์สำหรับบูชาพระรัตนตรัย การบูชาเทวดาที่รักษาประจำเขาพระสุเมรุทั้ง 4 ทิศ เป็นต้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์ ภูศิษฐ์ แสวงกิจ และนิพัทธพงศ์ พุมมา .(2557). “คติไตรภูมิกับการสร้างพระเมรุและพระเมรุมาศ”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 6 (2): 34.
พระวิจัย อิทฺธิโก (ชัยเจริญวรรณ). (2560). “ความเชื่อเรื่องไตรภูมิของคนในสังคมล้านนา”. วารสาร มจร. พุทธปัญญาปริทรรศน์. 2 (3): 21-30.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสิริมังคลาจารย์. (2548). จกฺกวาฬทีปนี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
พระครูวิจิตรธรรมาทร (เรียน ติสฺสวํโส). (2561). “การวิเคราะห์แนวคิดภพภูมิในพระไตรปิฎกที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วง”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุภาพร พลายเล็ก. (2557). “การศึกษาเปรียบเทียบเรื่องจักรวาลวิทยาในคัมภีร์วิษณุปุราณะและไตรภูมิ พระร่วง”. ดุษฎีนิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสันสกฤต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.